ดำเนินกิจการในด้านจัดจำหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างครบวงจรตั้งแต่โครงสร้างฐานรากจนถึงวัสดุก่อสร้างทั่วไป

สิ่งจำเป็นที่จะขาดไม่ได้เลยในการก่อสร้างบ้าน ก็คือ “แบบก่อสร้าง”

สิ่งจำเป็นที่จะขาดไม่ได้เลยในการก่อสร้างบ้าน ก็คือ “แบบก่อสร้าง” เพราะนอกจากจะใช้ในการ ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง การประเมินราคา จัดจ้างผู้รับเหมา และใช้ในการกำหนดการก่อสร้าง ดังนั้นเจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจกับภาษาช่างในแบบก่อสร้างให้เข้าใจ เพื่อการตรวจสอบความเรียบร้อยในการดำเนินการก่อสร้าง

“ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์” ในรายการประกอบแบบมักจะนิยมระบุถึงปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แต่เจ้าของบ้านอาจจะความสงสัยว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คือปูนอะไร อันที่จริงแล้ว ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ก็คือปูนที่ใช้สำหรับผสมเป็นคอนกรีตสำหรับใช้ในการเทโครงสร้างของบ้าน อย่างเช่น เสา คานหรือที่ใช้ในการเทพื้น โดยมีอัตราส่วนระหว่าง ปูน : ทราย : หิน อยู่ที่ 1 : 2 : 4

“คอนกรีตหยาบ” ก็คือคอนกรีตที่มีอัตราส่วนผสมของ ปูน : ทราย : หิน อยู่ที่ 1 : 3 : 5 ซึ่งมักจะใช้สำหรับการเทรองพื้นก้นหลุมก่อนการเทคอนกรีตโครงสร้างเพื่อทำฐานรากหรือเทรองพื้นเป็นแบบท้องพื้นเพื่อหล่อคานคอดิน การใช้คอนกรีตหยาบทำหน้าที่ดังกล่าวก็เพื่อความสะดวกและเป็นการประหยัดการใช้ไม้แบบซึ่งมีราคาที่สูงกว่าคอนกรีตหยาบ นั่นเอง

“ปูนก่อ-ปูนฉาบ” ก็คือปูนซีเมนต์ชนิดหนึ่ง (ซิลิกาซีเมนต์) ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างไปจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คือ มีความเหนียวมากกว่า มีระยะเวลาในการเซตตัวที่นานกว่า เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน อย่างเช่น การก่ออิฐหรือการฉาบผนัง ในบางครั้งอาจถูกเรียกว่า “ปูนทราย” ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์จึงทำให้ ปูนก่อ-ปูนฉาบมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าดังนั้น จึงไม่สามารถใช้งานแทนกันได้

“โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ” คือโครงหลังคาที่ประกอบด้วยการใช้เหล็กกล่องหรือเหล็กตัวซี เหล็กกล่องหรือเหล็กตัวซีจะมีลักษณะเป็นเหล็กสีดำ ยาวท่อนละ 6 เมตร มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ก่อนการก่อสร้างจะต้องทำการทาหรือชุบสีกันสนิม ก่อนตัดเป็นชิ้นตามแบบก่อสร้างจากนั้นจึงยกขึ้นไปทำการประกอบด้วยวิธีการเชื่อม

“โครงหลังคาสำเร็จรูป” คือโครงหลังคาที่ผลิตมาจากเหล็กกำลังดึงสูง ที่มีการเคลือบสารกันสนิม มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง ชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ถูกตัดออกแบบ วัด และตัดมาอย่างพอดีจากโรงงาน การติดตั้งสามารถใช้แค่เพียงแค่ตะปูเกลียวและสว่านไฟฟ้า

“ท่อประปา-ท่อน้ำทิ้ง” ในบางครั้งอาจถูกเรียกว่า ท่อน้ำดีหรือท่อน้ำเสีย ท่อดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นท่อพีวีซี โดยส่วนมากจะเป็นสีฟ้า ตามมาตรฐานแล้วท่อพีวีซีดังกล่าวจะมีคุณสมบัติ ทนต่อแรงดันและแรงกด ไม่รั่วซึมและไม่เปราะ ทนต่อสภาพกรดด่าง ทนต่อ UV ปราศจากสารพิษ และไม่เป็นสนิม โดยปกติแล้วจุดที่ต่างกันของท่อประปาและท่อน้ำทิ้งก็คือชั้นของความหนา ซึ่งท่อประปาทั่วไปจะมีชั้นความหนาอยู่ที่ PVC8.5 ส่วนท่อน้ำทิ้งจะมีชั้นความหนาอยู่ที่ PVC5 สาเหตุที่ท่อประปามีความหนามากกว่า เนื่องจากท่อประปาจะเป็นท่อที่ต้องรับแรงดันน้ำจากเครื่องปั๊มน้ำในขณะที่ท่อน้ำทิ้งมีแรงดันน้ำที่น้อยกว่า

“ท่อร้อยสายไฟ” ท่อร้อยสายไฟจะเป็นท่อที่ผลิตมาจากพีวีซีเช่นเดียวกับท่อประปา เนื่องจากเมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วพีวีซีจะไม่นำไฟฟ้า ไม่ลามไฟ และไม่ก่อให้เกิดอันตราย ข้อแตกต่างระหว่างท่อร้อยสายไฟกับท่อประปาก็คือ ท่อร้อยสายไฟมักจะถูกผลิตให้เป็นสีเหลืองหรือสีขาว (เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ง่าย) ทนต่อความร้อน ทน UV และสามารถดัดงอได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน

คำศัพท์ที่มักพบอยู่ในแบบก่อสร้างที่ถูกหยิบยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น รายละเอียดและความหมายของคำศัพท์ต่างๆ เหล่านี้ โดยปกติแล้วมักจะมีรายละเอียดหรือคำอธิบายความหมายของคำศัพท์นั้นๆ ระบุไว้ในรายการประกอบแบบของแบบก่อสร้างนั้นๆ ดังนั้นหากเจ้าของบ้านสงสัยเกี่ยวกับคำศัพท์ในแบบก่อสร้าง ในเบื้องต้นให้ลองตรวจสอบดูในรายการประกอบแบบก็อาจได้รับคำตอบ หากไม่พบก็สามารถสอบถามจากสถาปนิกผู้ออกแบบก็ได้เช่นกันเพื่อความเข้าใจที่ดีในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของบ้านระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel 📱 : 02-1197531 หรือ 091-7232455
Fax 📠 : 02-1197532
Line ID 🆔 : @Sapsiam (มี @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
🌐www.sapsiammaterial.com

SAPSIAMMATERIAL.COM
Logo
Shopping cart