ดำเนินกิจการในด้านจัดจำหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างครบวงจรตั้งแต่โครงสร้างฐานรากจนถึงวัสดุก่อสร้างทั่วไป

0.00 ฿

ล้างค่า
  • pumping (ปั้ม)
  • waterproof (กันซึม)
  • waterproof pump (ปั้ม+กันซึม)
  • marine (งานชายฝั่งทะเล)
Add to wishlistAdded to wishlistRemoved from wishlist 0

อินทรีคอนกรีต

อินทรีคอนกรีต มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เข้าถึงทุกความต้องการเหล่านั้น ตั้งแต่เลือกสรรแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตคุณภาพสูงที่ตอบสนองความต้องการในแต่ละโครงการ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างทั่วไปหรือ งานคอนกรีตที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษ นอกจากนี้ อินทรีคอนกรีตยังมีหน่วยงานที่พร้อมในการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับโครงการก่อสร้างที่ต้องการคอนกรีตที่มีคุณสมบัติเฉพาะ

ในด้านงานบริการ อินทรีคอนกรีต ได้จัดตั้งศูนย์บริการลูกค้า สายด่วนงานคอนกรีตเพื่อให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อ ติดตามสถานะการจัดส่งและการให้คำปรึกษาในด้านงานคอนกรีตจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้อินทรีคอนกรีตพร้อมให้บริการคุณด้วยหน่วยผลิตที่คลอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในส่วนภูมิภาค ซึ่งดำเนินการผลิตคอนกรีตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้องแม่นยำ สนับสนุนด้วยหน่วยบริการจัดส่งที่ใช้รถขนส่งรุ่นใหม่ที่ติดตั้งแจ้งสถานะในรถทุกคัน และเพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพสินค้าและบริการที่คุณจะได้รับ อินทรีคอนกรีต ยังมีหน่วยตรวจสอบควบคุมคุณภาพของคอนกรีตทั้งภายในหน่วยผลิตและโครงการก่อสร้างอีกด้วย

ด้วยการบริการและผลิตภัณฑ์ของอินทรีคอนกรีตที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด วันนี้เราได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านการบริหารการจัดการ ISO 9001:2008 ที่ได้ครบทุกหน่วยผลิต ISO: 14001:2004 ในด้านสิ่งแวดล้อม OHSAS/TIS 18001:2007 ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นี่คือบทพิสูจน์คุณภาพจากหลากหลายสถาบันรับรองมาตรฐานสากล ที่ทำให้เราก้าวต่อไปอย่างเชื่อมั่น และตอกย้ำถึงคุณภาพบริการและผลิตภัณฑ์ที่ดีได้ดั่งใจคุณ

 
คอนกรีตกันซึม

คอนกรีตชนิดนี้ เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ โดยมีค่าการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำ ตามมาตรฐาน DIN 1048 ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยาประเภทกันซึม ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494

คอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ เช่นบ่อเก็บน้ำ สระน้ำ อาคารใต้ดิน พื้นดาดฟ้าของอาคาร เป็นต้น มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า

โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ นอกจากจะใช้คอนกรีตที่ถูกออกแบบสำหรับการต้านทานการซึมผ่านของน้ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม เช่น ไม่ทำการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างานก่อสร้าง การทำคอนกรีตให้แน่นเพื่อให้คอนกรีตมีความสม่ำเสมอ เป็นเนื้อเดียวกัน และการบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีการพัฒนากำลังอัดได้อย่างสมบูรณ์ ลดความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต

 
คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป

คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัวตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น

คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450กก./ตร.ซม.ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 
คอนกรีตงานเข็มเจาะเล็ก

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดเล็ก

เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้ มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบเพื่องานเทเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210 – 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 7.5 – 12.5 ซม.

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

 
คอนกรีตงานเข็มเจาะใหญ่

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยหน่วงการก่อตัว และลดปริมาณน้ำในส่วนผสม ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป

คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื้อคอนกรีตถูกออกแบบมาให้มีค่าความยุบตัวสูง และไม่แยกตัวขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าคอนกรีตปกติ ซึ่งมั่นใจได้ว่าเสาเข็มเจาะใหญ่แต่ละต้นจะมีคุณภาพดีตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบงาน โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 280– 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 17.5-22.5 ซม.

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

 
คอนกรีตสำหรับงาน topping

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และ ค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงาน สำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบให้แตกต่างจากคอนกรีตปกติ โดยออกแบบให้ส่วนผสมมีส่วนละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหินโผล่ที่ผิวหน้าคอนกรีต ในขั้นตอนของการขัดผิวหน้าคอนกรีต หรือออกแบบส่วนผสมโดยใช้หินขนาด 3/8 นิ้ว

คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานเท Topping โดยรับรองค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนดที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าการยุบตัวสำหรับงานทั่วไป และงานคอนกรีตที่เทด้วยปั๊ม

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 
มอร์ต้า

มอร์ตาร์ เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ประเภทลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494

มอร์ตาร์ ถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต ที่ไม่ต้องการกำลังอัด หรือ เทหล่อเลี้ยงท่อก่อนการลำเลียงคอนกรีตโดยการใช้ปั๊ม ปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกตามปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมตั้งแต่ 300 กก. จนถึง 450 กก. ที่ค่าการยุบตัว 5.0-10.0 ซม.

หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน สำหรับมอร์ตาร์ที่นำไปใช้ในงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า เมื่อมอร์ตาร์แข็งตัวแล้ว รวมทั้งการบ่มชื้นบริเวณผิวปรับระดับ เพื่อลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าว

 
คอนกรีตต้านทานซิลเฟต

คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือ
1 ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ
2 เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary enttringite และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ อันเป็นผลให้เกิด แมกนีเซียมซิลิเกตไฮเดรท ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหายได้

นอกเหนือจากนี้ ยังเลือกใช้วัสดุผสมคอนกรีต ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ASTM C33 กำหนดเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี ตามที่ได้ออกแบบไว้

คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับสารละลายซัลเฟต เช่น งานบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับดินเค็ม ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น

3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น

 
คอนกรีตหดตัวต่ำ

คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมเพื่อลดการหดตัวของคอนกรีต โดยใช้วัสดุผสมเพิ่มเพื่อชดเชยการหดตัวของคอนกรีต ทำให้คอนกรีตในสภาวะที่ยังไม่แข็งตัวเกิดการขยายตัวไปก่อน

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องการการหดตัวของคอนกรีตต่ำ เช่น งานคอนกรีตครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cab Concrete) งานเทโครงสร้างถนน โครงสร้างพื้นในบริเวณกว้างๆ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง รวมถึงน้ำส่วนเกินที่ก่อให้เกิดปัญหาคอนกรีตหดตัว

2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

อินทรีคอนกรีต
อินทรีคอนกรีต
SAPSIAMMATERIAL.COM
Logo
Shopping cart