ดำเนินกิจการในด้านจัดจำหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างครบวงจรตั้งแต่โครงสร้างฐานรากจนถึงวัสดุก่อสร้างทั่วไป

สรุปชัดๆแบบก่อสร้าง (บ้าน) คืออะไร ??

ไหนใครเป็นมือใหม่กำลังจะสร้างบ้านบ้าง ขอเสียงหน่อย หลายคนคงกำลังกังวลกันอยู่ใช่มั้ย ไหนจะเรื่องก่อสร้าง สัญญา ผู้รับเหมา และอีกเรื่องคือแบบก่อสร้างบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแบบบ้านซื้อมา หรือจ้างสถาปนิก-วิศวกรออกแบบ หรือแบบบ้านเเจกฟรีเพื่อใช้ก่อสร้าง แบบทั้งหมดที่บอกมานี้มีอะไรที่เราควรรู้เพื่อเป็นประโยชน์กับเรา โดยเฉพาะเวลาติดตามงานและดูแลการก่อสร้าง วันนี้เเหละทุกอย่างจะได้รู้เเน่นอน
ก่อนอื่นเลยต้องรู้ว่าแบบก่อสร้างสำหรับการขออนุญาตก่อสร้างจะต้องมี…
1.รูปแสดงผังบริเวณที่เเสดงขอบเขตที่ดิน
– ไว้บอกว่าบ้านของเราอยู่ในตำเเหน่งไหนของเขตที่ดิน
– ไว้บอกระยะของตัวบ้านห่างจากเขตที่ดินเเต่ละด้านเท่าไหร่ และหันไปทางทิศใด
2.แบบเเสดงรายละเอียดของเเต่ละชั้นและรูปทุกด้าน (ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง)
และในแบบก่อสร้างจะมีเเบบรายละเอียดของวัสดุต่างๆ ที่กำหนดให้ใช้
ส่วนแบบก็แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
– แบบสถาปัตยกรรม : เเสดงผังและชั้นต่างๆ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ
– แบบวิศวกรรม : เเสดงรายละเอียดของงานโครงสร้างและและงานระบบของอาคาร
ในเรื่องของข้อกำหนดต่างๆ จะต้องมีระบุไว้ในแบบก่อสร้าง แล้วก็มักจะเขียนไว้ในแผ่นเเรกๆ ของแบบ เรียกว่า รายการประกอบแบบ (Specification)
ส่วนข้อกำหนดนั้นก็จะมีข้อกำหนดสำหรับงานสถาปัตยกรรม แบ่งเป็นงานโครงสร้างและงานระบบ เเต่วันนี้เราจะพูดถึงข้อกำหนดทางวิศวกรรมกัน เพราะมันย้ากยาก เเต่วันนี้จะทำให้เข้าใจเเน่นอน
เรื่องเเรกในข้อกำหนดทางวิศวกรรมโครงสร้าง ผู้ออกแบบโครงสร้างจะเป็นคนกำหนดว่าให้ใช้คอนกรีตมีกำลังอัดเท่าไหร่ ใช้เหล็กเสริมสามารถรับเเรงดึงได้เท่าใด เนื่องจากเวลาจะออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก วิศวกรจะต้องออกแบบโดยกำหนดคุณสมบัติรับแรงของทั้งคอนกรีตและเหล็กเสริมใช้ค่าเท่าไหร่ จะก่อสร้างก็ต้องตามที่ออกแบบมา
ในข้อกำหนดคุณสมบัติของเหล็กที่เขียนไว้จะระบุไว้ว่าเหล็กมีกำลังดึงเท่าไหร่ แบ่งเป็น
– เหล็กเส้นกลม หรือเรียกว่า SR
– เหล็กข้ออ้อย หรือเรียกว่า SD (และเหล็กที่เสริมในคอนกรีตที่ออกแบบมักจะเป็นเหล็ก SD-30 = เหล็กข้ออ้อยมีกำลังรับเเรงดึงได้ 3,000 กก. / ตร.ซม.)
สำหรับแบบโครงสร้างบ้านเรือนแบบเราๆ หรืออาคารขนาดเล็ก วิศวกรมักจะกำหนดให้ใช้เหล็ก SD-30 เเต่ถ้าเป็นอาคารใหญ่เเรงกระทำมาก ก็ต้องใช้เหล็กที่มีกำลังเป็น SD-40 กำลังต้านทานสูงขึ้น เรื่องข้อกำหนดแบบในส่วนโครงสร้างเป็นเรื่องที่เราต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
เรื่องที่สองคือการกำหนดกำลังรับเเรงอัดของคอนกรีตที่ให้ใช้ ซึ่งคนทั่วไปมักจะเรียกคอนกรีตว่า “ปูน” และอาจคิดว่ามันเหมือนกันหม
ความจริงแล้วคอนกรีตมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของวัสดุที่ผสมเป็นคอนกรีต นั่นก็คือหิน ทราย ซีเมนต์ผง และปริมาณน้ำ โดยเฉพาะซีเมนต์ผงนี่แหละ ซีเมนต์สำหรับการผสมก็มีหลายประเภท เเละบางประเภทก็ไม่เหมาะกับงานโครงสร้าง ใช้ได้กับงานก่ออิฐฉาบผนังเท่านั้น
ยิ่งปัญหาในปัจจุบันเรื่องการขาดแคลนเเรงงาน การใช้เเรงงานเพื่อผสมคอนกรีตด้วยโม่ผสมคอนกรีตจึงมีน้องลง เเต่จะเลือกแบบผสมเสร็จมาแทน หรือที่เรียกกันว่า “ปูนซีเเพค” วิธีนี้ก็ต้องสั่งซื้อตามกำลังอัดของคอนกรีตที่กำหนดในการประกอบแบบ
สิ่งสำคัญสำหรับมือใหม่อย่างเราคือการอ่านข้อกำหนดในแบบเรื่องชนิดของเหล็กเสริมและกำลังอัดของคอนกรีต เพื่อเป็นข้อมูลเจรจากับผู้รับเหมา
เรามีตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ มาเเนะนำด้วย คือถ้ามีงานที่เป็นโครงหลังคาเหล็ก ควรดูข้อกำหนดของขนาดและความหนาของเหล็กที่กำหนดให้ใช้ในแบบ เช่น ในแบบกำหนดให้ใช้เหล็กกล่อง ขนาด 2×5 นิ้ว หนา 3.2 มม. เราก็ต้องตรวจดูว่าตรงมั้ย? ถูกต้องหรือเปล่า? เพราะถ้าเกิดไม่ได้ตามที่แบบกำหนดไว้ หลังคาจะแอ่นตัว ทีนี้แหละเเย่เลย
เอาล่ะ สรุปจบชัดๆ กันมั้ย ว่าแบบก่อสร้างบ้านมีอะไรที่เราต้องรู้บ้าง ถ้ารู้จักเรื่องข้อกำหนดแบบ อ่านข้อกำหนดแบบได้ ก็สบายเเล้ว ทีนี้เเหละไม่ต้องกลัวเเล้วว่าจะโดนหลอก ต่อไปนี้การสร้างบ้านของเราก็จะง่ายขึ้น สบายใจ ปลอดภัย หายห่วง!

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Tel ? : 02-1197531 หรือ 091-7232455
Fax ? : 02-1197532
Line ID ? : @Sapsiam (มี @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
? www.sapsiammaterial.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : home.co.th

SAPSIAMMATERIAL.COM
Logo
Shopping cart